Google+

Passivate on Stainless ชุบสร้างฟิลม์กันสนิมให้สแตนเลส

Passivate on Stainless

 

STRIZING has the capacity and expertise to remove free iron from surfaces made of all alloys of stainless steel. Our passivation process ensures that your product’s surface resists damaging corrosion while preserving its original dimensions.

Passivation defined

Passivation is the treatment of stainless steel to remove free iron from its surface.

STRIZING  performs a thorough degreasing and cleaning of your parts before placing them in the appropriate passivate solution, typically a nitric-acid based formulation. The time, temperatures and concentrations STRIZING  uses ensure successful, safe removal of free iron.

STRIZING Passivation Properties

Stainless steel

Can be used on all types of stainless steel including but not limited to:

  • 300 series
  • 400 series
  • 17-4PH
  • 18-8

Reference Specifications

Meets or exceeds all requirements of:

  • QQ-P-35

Benefits of STRIZING Passivation

STRIZING passivation services offer several benefits:

  • Safe removal of iron
  • Surface corrosion prevention
  • No dimensional change

 

 

การสร้างฟิล์มให้กับเหล็กกล้าไร้สนิม (Passivation of Stainless Steel) 

 ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีแล้วว่าเหล็กกล้าไร้สนิม (stainless steel) คือเหล็กกล้าที่มีความต้านทานการกัดกร่อนสูงหรือมีความต้านทานต่อการเกิดสนิมมากกว่าเหล็กกล้าธรรมดา (carbon steel) ซึ่งน่าจะเป็นนิยามที่เหมาะสมเพราะว่าในความเป็นจริงแล้วมันสามารถเกิดสนิมได้การใช้เหล็กกล้าไร้สนิมจึงควรให้ความเอาใจใส่การสร้างฟิล์มบางนี้ก่อนใช้งานเรียกว่าเทคนิค Passivation โดยการขัดฟิล์มเก่าทิ้งหรือใช้กรดกัดฟิล์มเก่าทิ้งแล้วทำให้โครเมียมที่ผิวเกิดการกัดกร่อนทั่วผิวอย่างรวดเร็วก็จะเกิด Passive Film ได้อย่างรวดเร็วอย่างไรก็ตามฟิล์มบางนี้ก็จะเกิดความเสียหายบ้างในระหว่างการใช้งานโดยปกติฟิล์มบางนี้จะมีสภาพดีที่สุดถ้าใช้เหล็กกล้าไร้สนิมสัมผัสกับสารละลายที่เป็นกลางและปราศจากอิออนคลอไรด์ถ้าสารละลายที่ใช้สัมผัสมีความเป็นกรดจะต้องพิจารณาต่อไปว่าเหล็กกล้าไร้สนิมแต่ละเกรดก็จะสามารถทนทานต่อกรดได้ไม่เท่ากันถ้าสารละลายมีค่า pH ต่ำกว่าค่า pHd หรือ depassivate pH ก็จะเกิดการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้าขึ้นได้

 นอกจากนั้นฟิล์มบางนี้ยังจะเกิดปัญหาแตก (breakdown) ได้ในสารละลายที่มีอิออนคลอไรด์โดยจะแตกเป็นจุดหรือเฉพาะที่ (localized) แล้วขยายตัวเข้าไปในวัสดุทำให้เกิดเป็นโพรงหรือเป็นหลุมหรือเป็นรู (pitting) หรือเป็นรอยปื้น (crevice) ในเนื้อโลหะอย่างไรก็ตามเหล็กกล้าไร้สนิมยังมีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งคือสามารถเกิด Passive Film ซ้ำใหม่เพื่อซ่อมแซมตนเองได้เรียกว่า Repassivate ดังนั้นโดยปกติหากเกิดการแตกของฟิล์มแล้วก็มักจะมีการเกิดฟิล์มใหม่ทับบริเวณเสียหายได้หรือผู้ใช้อาจช่วยให้เกิดฟิล์มใหม่ซ้ำให้เร็วขึ้นโดยการขัดล้างหรือใช้กรดทาแล้วล้างออกด้วยน้ำจนหมดกรด

 ในกรณีที่เหล็กกล้าไร้สนิมมีความไม่ปกติในเนื้อโลหะเช่นมีความเค้น (stress) หรือมีการตกตะกอนของคาร์ไบด์ที่ขอบเกรน (grain boundary precipitation) ตราบเท่าที่ยังมี Passive Film หุ้มอยู่ความไม่ปกติในเนื้อโลหะจะยังไม่มีผลต่อสมบัติวัสดุแต่หากฟิล์มเกิดละลายหรือแตกเฉพาะจุดก็จะเกิดการแตกร้าวเนื่องจากความเค้น (stress cracking) ได้ทั้งแบบผ่ากลางเกรนหรือไปตามเกรนได้หรืออาจเกิดการกัดกร่อนตามขอบเกรน (intergranular corrosion) เช่นของงานเชื่อมเป็นต้น

 ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยหาธาตุผสมอื่นที่เติมแล้วทำให้เหล็กกล้าไร้สนิมนั้นมี Passive Film ที่ดีมากขึ้นคือเกิดได้รวดเร็วแข็งแรงและเกิดซ้ำได้อย่างรวดเร็วเช่นธาตุโมลิบดีนัม (Mo) ที่ใช้เติมลงในเกรด AISI 304 แล้วได้เป็นเกรด AISI 316 ซึ่งเป็นเกรดที่ทนทานต่อสารเคมีได้ดีกว่าเป็นต้นดังนั้นก่อนใช้งานเหล็กกล้าไร้สนิมจึงต้องไม่ลืมสร้าง Passive Film ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การใช้งานและต้องหมั่นดูแล Passive Film ให้คงทนตลอดเวลาการใช้งาน

 การสร้างฟิล์มคืออะไร? ถ้าพิจารณาจาก ASTM A380 จะพบว่าการสร้างฟิล์มปกป้อง (passivation) คือกระบวนการกำจัดเหล็กที่มาจากภายนอก (exogenous iron) หรือสารประกอบของเหล็กจากผิวหน้าของเหล็กกล้าไร้สนิมโดยกระบวนการสลายตัวทางเคมีซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักดำเนินการด้วยสารละลายกรดที่สามารถกำจัดสารแปลกปลอมบนผิวหน้าแต่จะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อเหล็กกล้าไร้สนิมเองในขณะเดียวกันการสร้างฟิล์มป้องกันยังสามารถอธิบายได้อีกนัยหนึ่งว่าเป็นกระบวนการบำบัดทางเคมีของเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยสารออกซิแดนท์อ่อนๆ (mild oxidant) เช่นสารละลายกรดไนตริกเพื่อสร้างสภาวะที่เหมาะสมของผิวหน้าให้สามารถสร้างฟิล์มปกป้องการกัดกร่อนที่สม่ำเสมอบนผิวหน้า

 กระบวนการสร้างฟิล์มปกป้องจะกำจัดสารแปลกปลอมประเภท “free iron” ที่ตกค้างบนผิวหน้าเหล็กกล้าไร้สนิมที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขั้นตอนกลึงไสขัดเจาะหรือจากกระบวนการประกอบติดตั้งสารแปลกปลอมเหล่านี้ถ้าไม่ถูกกำจัดออกมักจะแสดงตัวเป็นจุดเริ่มการกัดกร่อนและในที่สุดก็จะส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนในขณะเดียวกันกระบวนการสร้างฟิล์มปกป้องจะส่งเสริมให้เกิดการฟอร์มฟิล์มออกไซด์ที่โปร่งแสงซึ่งบางมาก (1-5 นาโนเมตร) ซึ่งจะป้องกันเหล็กกล้าไร้สนิมไม่ให้เกิดออกซิเดชันหรือการกัดกร่อนแบบเลือก (selective oxidation) ดังนั้นจึงมักมีคำถามว่า passivation คืออะไร? เป็นการทำความสะอาดหรือเปล่า? หรือเป็นชั้นเคลือบเพื่อปกป้อง (protective coating) ของวัสดุ? คำตอบก็คือสัมพันธ์กันทั้งสองอย่าง 

 โดยทั่วไปแล้วกระบวนการสร้างฟิล์มมักเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดผิวหน้าด้วยความระมัดระวังทั้งนี้เพื่อกำจัดคราบน้ำมันไขมันจารบีสารประกอบที่ก่อตัวขึ้นสารหล่อลื่นสารหล่อเย็นของไหลที่ใช้ในการตัดชิ้นงานและสิ่งแปลกปลอมทั้งเป็นสารอินทรีย์และโลหะที่อาจตกค้างจากกระบวนการประกอบติดตั้งและการกลึงไสตัดเจาะการกำจัดไขมันและการทำความสะอาดโดยทั่วไปสามารถดำเนินการโดยการกำจัดคราบไขมันด้วยไอน้ำทำความสะอาดด้วยตัวทำละลายและการแช่ในสารละลายด่างเป็นต้น

 หลังจากการกำจัดสารแปลกปลอมที่เป็นสารอินทรีย์และโลหะแล้วชิ้นส่วนจะถูกนำไปแช่ในสารละลายเพื่อสร้างฟิล์มที่เหมาะสมแม้ว่าจะมีสารละลายอยู่หลายชนิดแต่สารละลายที่นิยมใช้กันคือกรดไนตริกแม้ว่าเมื่อไม่นานมานี้จะมีงานวิจัยที่มีการพัฒนากระบวนการที่เป็นทางเลือกสำหรับการสร้างฟิล์มรวมทั้งสารละลายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก็ตามแต่ก็ให้ประสิทธิภาพที่เท่าเทียมกันและแม้ว่าสารละลายทางเลือกอื่นๆจะมีกรดซิตริกหรือสารเคมีชนิดอื่นๆเป็นองค์ประกอบแต่สารละลายเหล่านั้นไม่ได้รับการยอมรับในเชิงการค้าเมื่อเทียบกับสารละลายที่มีกรดไนตริกเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ตัวแปรหลักที่จำเป็นต้องพิจารณาและควบคุมในกระบวนการสร้างฟิล์มปกป้องได้แก่เวลาอุณหภูมิและความเข้มข้นโดยข้อกำหนดทั่วไปเวลาที่ใช้ในการจุ่มแช่โดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงระหว่าง 20 นาทีถึง 2 ชั่วโมงอุณหภูมิของอ่างโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงตั้งแต่อุณหภูมิห้องจนถึง 160 องศาฟาเรนไฮต์และความเข้มข้นของกรดไนตริกจะอยู่ในช่วง 20-50% โดยปริมาตรยกตัวอย่างเช่น

 - เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติก (อนุกรม 300) และมีส่วนผสมของโครเมียมมากกว่า 17% (ยกเว้นอนุกรม 440) จะใช้กรดไนตริกความเข้มข้น 20% โดยปริมาตรที่อุณหภูมิ 50-60 C เป็นเวลา 30 นาที 

 - เหล็กกล้าไร้สนิมที่มีส่วนผสมของโครเมียม 12-14% และที่มีส่วนผสมของคารบอนสูง/โครเมียมสูง( อนุกรม 440) จะใช้กรดไนตริกความเข้มข้น 20% โดยปริมาตรผสมกับสารละลายโซเดียมไดโครเมทที่อุณหภูมิ 50-60 C เป็นเวลา 30 นาที 

 - เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มทำให้แข็งโดยการตกตะกอน (Precipitation Hardening Stainless Steel) จะใช้กรดไนตริกความเข้มข้น 50% โดยปริมาตรที่อุณหภูมิ 50-60 C เป็นเวลา 30 นาที 

 อาจมีบางข้อกำหนดที่เลือกใช้ sodium dichromate เป็นส่วนผสมในสารละลายสร้างฟิล์มหรือใช้ล้างทำความสะอาดก่อนการสร้างฟิล์มเพื่อช่วยให้เกิดการฟอร์มฟิล์มโครมิกออกไซด์ (chromic oxide film) การควบคุมสารละลายควรกระทำอย่างระมัดระวังโดยต้องควบคุมความบริสุทธิ์ของน้ำสารแปลกปลอมเชิงโลหะ (metallic impurities) ในระดับ ppm (parts per million) และปรับเปลี่ยนสารเคมีเมื่อมีความเข้มข้นเปลี่ยนไปซึ่งจะส่งผลให้ฟิล์มที่เกิดขึ้นมีประสิทธิภาพที่ดีชนิดของเหล็กกล้าไร้สนิมที่จะใช้ในกระบวนการสร้างฟิล์มก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องพิจารณาเมื่อทำการเลือกกระบวนการสร้างฟิล์มที่ให้ประสิทธิภาพมากที่สุดการเลือกอ่าง (เวลา, อุณหภูมิและความเข้มข้น) ก็เป็นตัวแปรที่ต้องพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับโลหะผสมแต่ละชนิดดังนั้นความรู้เกี่ยวกับชนิดของวัสดุและกระบวนการสร้างฟิล์มเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งต่อประสิทธิผลที่ต้องการในทางกลับกันการเลือกอ่างที่ไม่ถูกต้องรวมทั้งการเลือกกระบวนการและ/หรือการควบคุมกระบวนการที่ไม่เหมาะสมมักส่งผลให้ได้ผลที่ไม่สามารถยอบรับได้และบางครั้งอาจนำไปสู่ความเสียหายที่รุนแรงตามมาได้ยกตัวอย่างเช่นเกิดรูเข็มอย่างรุนแรงมีการกัดผิวหน้าหรือทำลายทั่วทั้งผิวหน้าของชิ้นส่วน 

 อุปกรณ์และข้อควรระวัง 

 กระบวนการสร้างฟิล์มปกป้องบนผิวหน้าเหล็กกล้าไร้สนิมจะได้ประสิทธิภาพที่ดีเมื่อช่างเทคนิคและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ผ่านการฝึกอบรมมีประสบการณ์และคุ้นเคยกับสารอันตรายทางวิทยาศาสตร์โดยต้องเข้าใจอย่างดีเกี่ยวกับความปลอดภัยในระหว่างการสร้างฟิล์มซึ่งจำเป็นต้องมีการสวมรองเท้าบูทพิเศษถุงมือมีการใช้ผ้ากันเปื้อนและอุปกรณ์ความปลอดภัยอื่นๆมีการจัดเตรียมแทงค์อุปกรณ์ให้ความร้อนและระบบระบายอากาศรวมทั้งตะกร้าและชั้นวางของโดยจะต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการดำเนินการเหล็กหรือชิ้นส่วนที่เป็นเหล็กหรืออุปกรณ์ต่างๆจะต้องไม่นำมาใช้ในกระบวนการยิ่งไปกว่านั้นเพื่อให้สนองต่อความต้องการของสังคมที่ต้องการกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้วน้ำและอากาศที่ใช้ในกระบวนการรวมทั้งระบบต่างๆควรจะมีการติดตั้งอยู่ด้วย 

 ข้อกำหนดและการทวนสอบ 

 มีข้อกำหนดที่ได้รับการยอมรับทั่วไปจากอุตสาหกรรมอยู่ส่วนหนึ่งเมื่อจะใช้ในการอ้างอิงเพื่อเลือกกระบวนการสร้างฟิล์มซึ่งเขามักสนใจข้อมูลเกี่ยวเวลาอุณหภูมิและความเข้มข้นในระหว่างกระบวนการสร้างฟิล์มและความต้องการในการทดสอบในลำดับถัดมาเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งมักมีการพัฒนาข้อกำหนดขึ้นไว้ใช้เป็นการภายในเพื่อควบคุมความต้องการเฉพาะของพวกเขาเกี่ยวกับการทวนสอบกระบวนการสร้างฟิล์มซึ่งในสถานการณ์เช่นนั้นมักจะระมัดระวังในการอ้างอิงขั้นตอนการพิสูจน์เพื่อเมื่อชิ้นส่วนมีการสร้างฟิล์มจากการอ้างอิงข้อกำหนดนั้นอาจกล่าวได้ว่าไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนแปลงอะไรเนื่องจากมันดีอยู่แล้วและโดยจากการใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมาของคนอื่นทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวทำให้เราสามารถกำจัดงานที่นอกเหนือความคาดหมายที่อาจมากับกระบวนการใหม่ 

 ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานที่นิยมใช้กันคือ ASTM A-967 และ ASTM A-380 ซึ่งทั้ง 2 มาตรฐานได้เขียนไว้อย่างดีให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำแนะนำในกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงความต้องการการทดสอบในขั้นตอนสุดท้ายหากเจ้าของงานไม่แน่ใจว่าต้องการอะไรก็สามารถใช้อ้างอิงได้ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ความต้องการในการทดสอบสามารถที่จะใช้หรือยกเว้นก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แต่มีข้อกำหนดในการทวนสอบอยู่ข้อหนึ่งที่นิยมใช้กันมากก็คือการทดสอบด้วยคอปเปอร์ซัลเฟตโดยชิ้นส่วนที่ผ่านการสร้างฟิล์มจะถูกจุ่มแช่ในสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต 6 นาทีล้างน้ำสะอาดและทำการตรวจสอบด้วยสายตาโดยถ้าพบว่าผิวหน้ามีลักษณะเป็นชมพู (ทองแดง) จะแสดงให้เห็นว่าผิวหน้าวัสดุมีการเหล็กอิสระเป็นสารแปลกปลอมตกค้างลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าไม่สามารถยอมรับได้นอกจากนี้ยังมีการทวนสอบอื่นๆได้แก่การทดสอบด้วยหมอกเกลือเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหรือทดสอบในสภาวะที่มีความชื้นสูง 24 ชั่วโมงการทดสอบดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยการนำชิ้นส่วนที่ผ่านการสร้างฟิล์มเข้าไปไว้ในภาชนะที่ควบคุมมิดชิดเป็นอย่างดีที่สามารถสร้างสภาวะสิ่งแวดล้อมให้เร่งการกัดกร่อนได้หลังจากชิ้นงานได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่กัดกร่อนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วก็จะนำชิ้นส่วนออกมาและนำไปประเมินซึ่งมาตรฐานที่นิยมใช้กันคือ ASTM B-117 เพราะเป็นการทดสอบที่ใช้อ้างอิงและเป็นที่ยอมรับแต่สิ่งที่เราทราบอีกอย่างหนึ่งคือการทดสอบแต่ละอย่างมีข้อดีและข้อจำกัดกันอย่างไรบ้างดังนั้นโปรดใช้ความระมัดระวังในการเลือกวิธีการทดสอบที่เหมาะสมซึ่งพิจารณาจากชนิดของโลหะผสมและสิ่งแวดล้อมที่นำไปใช้งาน การพิสูจน์ทราบถึงการเกิดขึ้นของฟิล์มและความเสถียรของฟิล์มค่า pHd ความสามารถในการสร้างฟิล์มใหม่ (Repassivation) และอื่นๆสามารถทำได้โดยวิธีทางเคมีไฟฟ้าซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัยให้ข้อมูลได้มากและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

 การขึ้นรูปทางกลและกระบวนการทางความร้อน

 บางครั้งเราอาจจะมองข้ามตัวแปรที่ส่งผลเชิงลบต่อการกระบวนการสร้างฟิล์มคือกระบวนการขึ้นรูปทางกลและการปฏิบัติการทางความร้อนที่ไม่ดีโดยมักอยู่ในรูปของสารตกค้างที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตและ/หรือระหว่างกระบวนการทางความร้อนปัจจัยเหล่านี้จะนำไปสู่ผลการทดสอบที่ไม่สามารถยอมรับได้ดังนั้นการปฏิบัติดังต่อไปนี้จะช่วยลดสารตกค้างระหว่างกระบวนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างฟิล์มและผลการทดสอบที่ได้รับการยอมรับ:

 ไม่ควรใช้จานขัดวัสดุขัดหรือแปรงลดที่ทำจากเหล็กเหล็กออกไซด์เหล็กกล้าสังกะสีหรือวัสดุอื่นที่สามารถเหนี่ยวนำให้เกิดเป็นสารแปลกปลอมตกค้างบนผิวหน้าเหล็กกล้าไร้สนิม

 ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้เครื่องมือที่เป็นคาร์ไบด์หรือพวกอโลหะต่างๆ

 ไม่ควรใช้จานขัดหินเจียรและแปรงลวดที่ผ่านการใช้งานกับโลหะชนิดอื่นมาก่อนมาใช้กับเหล็กกล้าไร้สนิม

 ให้ใช้อุปกรณ์ขัดที่ยังไม่ใช้งานเช่นลูกปัดแก้วหรือซิลิกาที่ไม่เจือเหล็กหรือทรายอลูมิน่าสำหรับทำความสะอาดผิวหน้าไม่ควรใช้เม็ดเหล็กกล้าหรือสารขัดที่ผ่านการขัดกับวัสดุชนิดอื่นมาก่อน

 ทำความสะอาดอย่างระมัดระวังก่อนน้ำชิ้นส่วนเข้าสู่กระบวนการทางความร้อนการอบคลายความเค้นการอบอ่อนการดึงหรือกระบวนการขึ้นรูปทางความร้อนอื่นๆที่สามารถส่งเสริมให้เกิดสารตกค้างฝังลึกลงไปบนผิวหน้าชิ้นงานอันส่งผลให้ไม่สามารถกำจัดออกได้ในระหว่างกระบวนการสร้างฟิล์ม 

 ควรระมัดระวังในการดำเนินการระหว่างกระบวนการทางความร้อนทั้งหมดทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการฟอร์มตัวของออกไซด์หรือการเปลี่ยนสีบนผิวหน้า (discoloration) การสร้างฟิล์มไม่ได้ออกแบบเพื่อกำจัดลักษณะการเปลี่ยนสีที่เกิดขึ้นบนผิวหน้าชิ้นงานและจะไม่ซึมลึกเข้าไปในชั้นออกไซด์ที่หนาในสถานการณ์ที่รุนแรงอาจจะเพิ่มขั้นตอนการล้างด้วยกรดเพื่อกำจัดคราบออกไซด์ (pickling and descaling) ก่อนกระบวนการสร้างฟิล์มเพื่อกำจัดลักษณะการเปลี่ยนสีที่เกิดขึ้นบนผิวหน้าควรควบคุมบรรยากาศภายในเตาอบของทุกกระบวนการทางความร้อนเป็นอย่างดีเพื่อลดการเกิดสารตกค้างที่มากับบรรยากาศและต้านทานการเกิดออกไซด์เมื่อสามารถดำเนินการได้ตามคำแนะนำดังกล่าวชิ้นส่วนเหล็กกล้าไร้สนิมก็จะมีสมบัติต้านทานการเกิดสนิม 

 สรุป

 จากข้อมูลที่กล่าวมาผู้อ่านคงทราบแล้วว่าประสิทธิภาพที่ดีของโลหะผสมที่เราเสียค่าใช้จ่ายมาค่อนสูงนั้นเราจะดำเนินการอย่างไรการสร้างฟิล์มของเหล็กกล้าไร้สนิมเป็นกระบวนการที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์นั้นเราต้องควบคุมกระบวนการขึ้นรูปทางกลการประกอบติดตั้งและการปฏิบัติการทางความร้อนอย่างใกล้ชิดเนื่องสามารถส่งผลกระทบต่อสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของชิ้นส่วนได้เป็นที่ทราบกันดีว่าการสร้างฟิล์มบนผิวหน้าเหล็กกล้าไร้สนิมจะทำให้มีสมบัติต้านทานการกัดกร่อนแต่ควรตระหนักถึงประสิทธิภาพสูงสุดของโลหะผสมเหล่านี้โดยผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตจะต้องเข้าใจถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของวัสดุตลอดกระบวนการสร้างฟิล์ม 

 เอกสารอ้างอิง

 1. ASTM A 380 - 96 Standard Practice for Cleaning, Descaling, and Passivation of Stainless Steel Parts, Equipment, and Systems

 2. ASTM A 967 - 96 Standard Specification for Chemical Passivation Treatments for Stainless Steel Parts

 3. ASTM B 117 - 95 Standard Practices for Operating Salt Spray (Fog) Apparatus

 


ชื่อผู้ตอบ:

แบบฟอร์มติดต่อกลับ